โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรแบบเข้าใจง่าย
African Swine Fever (ASF) หรือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เป็นโรคไวรัสติดต่อร้ายแรงที่เกิดกับสัตว์ในตระกูลสุกรทุกชนิด (สุกรเลี้ยงและสุกรป่า) แต่ไม่ใช่โรคจากสัตว์สู่คน สามารถเกิดได้ทุกช่วงอายุของสุกร การเกิดโรคมักมีการระบาดรุนแรงทำให้สัตว์ที่ติดเชื้อตายเกือบหมดภายในระยะเวลาเพียงสองอาทิตย์ ซึ่งในปัจจุบันก็ยังไม่มีวัคซีนเพื่อใช้ป้องกันและควบคุมโรคนี้ทำให้การเกิดโรคระบาดส่งผลกระทบรุนแรงโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก
อาการที่ปรากฏชัดคือตายเฉียบพลัน มีไข้สูง ผิวหนังแดง มีจุดเลือดออก หรือรอยช้ำโดยเฉพาะหลังใบหู ท้อง และขาหลัง รวมถึงอาการทางระบบอื่นๆด้วย เช่น ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และการแท้งในสุกรแม่พันธุ์
ในปัจจุบันยังพบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรอย่างต่อเนื่อง และพบการระบาดแล้วทั้งหมด 30 ประเทศ แบ่งเป็น ทวีปแอฟริกา 7 ประเทศ ทวีปยุโรป 12 ประเทศ และทวีปเอเชีย 11 ประเทศ สำหรับประเทศไทยยังไม่พบการระบาดของโรค เนื่องจากประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่พบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในประเทศจีนตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2561
ปัจจัยและความเสี่ยงในการรับเชื้อเข้าสู่ฟาร์ม
- การนำเข้าสุกรและน้ำเชื้อ
- การนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสุกร
- การนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์
- การเชือดสุกรในโรงฆ่าสัตว์
- การแปรรูปสุกรในโรงงานแปรรูป
- การขนส่งสุกรที่ติดเชื้อ
- การเข้าเยี่ยมชมฟาร์ม
- การใช้แรงงานจากประเทศกลุ่มเสี่ยง
- การนำเศษอาหารที่ปนเปื้อนมาเลี้ยงสุกร
- การถูกเห็บที่มีเชื้อกัด
- การสัมผัสกับสุกรป่า
รูปแบบการติดเชื้อไวรัสอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
- การสัมผัสสารคัดหลั่งของสุกรที่ติดเชื้อ
- การติดต่อผ่านสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค
- การกินวัตถุดิบอาหารที่ปนเปื้อน
- การกินเศษอาหารที่มีเนื้อสุกรปนเปื้อน
- การสัมผัสวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในฟาร์มที่ปนเปื้อน
- การสัมผัสรถขนอาหารสัตว์และรถขนย้ายสัตว์
- การสัมผัสกับบุคคลที่ปนเปื้อนเชื้อ
อย่างที่ได้กล่าวไปว่าโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรยังเป็นโรคที่ไม่มีวัคซีน ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าสู่ฟาร์ม จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับโรคนี้ โดยเกษตรกรสามารถทำได้ ดังนี้
- มีอ่างจุ่มรองเท้าก่อนเข้าโรงเรือน
- ทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ภายในฟาร์ม
- ทำความสะอาดโรงเรือนด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
- ควบคุมการเข้า-ออกภายในฟาร์มของคน สัตว์ และยานพาหนะ
- จำกัดการเข้าเยี่ยมฟาร์มของบุคคลภายนอก
- กำจัดสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค
- ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นในบริเวณฟาร์ม
- นำวัตถุดิบอาหารสัตว์ไปให้ความร้อนที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 70 °C
- งดให้เศษอาหารที่เหลือจากการบริโภคแก่สุกร
- บุคคลที่มีหน้าที่ภายในฟาร์มควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสุกรและสัตว์ภายนอกฟาร์ม
- ห้ามนำสัตว์ ซากสัตว์ เลือด น้ำเชื้อ ตัวอ่อน ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และวัตถุดิบอาหารสัตว์จากประเทศสุ่มเสี่ยงเข้ามาในฟาร์ม
ผลิตภัณฑ์สารฆ่าเชื้อ Huwa-San TR-50 จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการป้องกันไม่ให้โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรมาติดในสุกรที่เลี้ยง โดยสามารถนำมาใช้จุ่มรองเท้า ฆ่าเชื้อภายในโรงเรือน ทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ภายในฟาร์ม ไปจนถึงการฆ่าเชื้อในน้ำดื่มสำหรับสุกร โดยวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ในเบื้องต้นมี ดังนี้
- สำหรับใช้จุ่มรองเท้า ทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ ฉีดพ่นยานพาหนะ และฉีดพ่นภายในโรงเรือนระหว่างพักเล้า ให้ผสม Huwa-San TR-50 5-10 ลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แล้วนำไปใช้ฆ่าเชื้อตามประสงค์
- สำหรับใช้ฉีดพ่นใส่คนก่อนเข้า-ออกจากฟาร์ม ให้ผสม Huwa-San TR-50 80-100 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แล้วนำไปใช้ฆ่าเชื้อตามประสงค์
- สำหรับใช้ฆ่าเชื้อในน้ำดื่มสัตว์ ให้ผสม Huwa-San TR-50 20-30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ใช้ต่อเนื่องภายในระบบน้ำดื่มสัตว์
- สำหรับใช้ฉีดพ่นฆ่าเชื้อบนซากสัตว์ ให้ผสม Huwa-San TR-50 60-100 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แล้วนำไปใช้ฆ่าเชื้อตามประสงค์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- www.dld.go.th
- pasusart.com และ Pasusart Youtube channel
- siamrath.co.th
ขอขอบคุณรูปภาพจาก
- www.greenery.org
- www.hatyaifocus.com
- www.bbc.com