ไข้เลือดออก...ภัยร้ายจากยุงลาย
เมื่อเข้าฤดูฝน หลายพื้นที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดน้ำขังซึ่งสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ไข้เลือดออกเป็นโรคที่ระบาดมากในหน้าฝน สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาให้ทันท่วงที ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ ถึงปีนี้จะมีการระบาดของโรคโควิด 19 แต่สถิติผู้เสียชีวิตและเจ็บป๋วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงเลย
โรคไข้เลือดออกนั้นสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสแดงกีที่มียุงลายนั้นเป็นพาหะนำโรค ซึ่งมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ โดยจะระบาดมากในหน้าฝน เนื่องจากมีน้ำขังในหลายพื้นที่จึงทำให้ยุงสามารถวางไข่และเจริญเติบโตได้ดี ในอดีตโรคไข้เลือดออกจะระบาดในวัยเด็ก ต่อมาโรคไข้เลือดออกได้ขยายไปยังวัยรุ่นและผู้ใหญ่ จึงทำให้ผู้เป็นโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มสูงขึ้น
อาการของโรคไข้เลือดออก
อาการของโรคจะแตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล เนื่องจากความารุนแรงของแต่ละสายพันธุ์ และ พันธุกรรมของแต่ละบุคคล โดยส่วยใหญ่ในเบื้องต้นจะมีอาการดังต่อไปนี้
- มีไข้สูงเฉียบพลันเกิน 38 องศาเซลเซียส อาจสูงถึง 41 องศาเซลเซียส
- ปวดเมื่อยตามตัว
- มีเลือดออกที่ผิวหนัง เป็นจุดเล็กๆ กระจายอยู่ตามตัว
- คลื่นไส้ อาเจียน
- อุจจาระเป็นเลือด
ระยะของไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกสามารถแบ่งออกได้ 3 ระยะ
- ระยะไข้สูง จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน หมดแรง
- ระยะวิกฤต เป็นช่วงที่อันตรายที่สุดเนื่องจากจะมีอาการไข้สูงและไข้ลดลง จะทำให้มีอาการช็อกเกิดขึ้นได้
- ระยะฟื้นตัว ร่างกายจะค่อยๆฟื้นตัว จนหายเป็นปกติ
วิธีการการรักษา
ในปัจจุบันไข้เลือดออกยังไม่มียารักษาโดยตรง ซึ่งจะเป็นเพียงการรักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ เช็ดตัว ให้น้ำเกลือ และดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันภาวะช็อก
- หากสงสัยหรือมีอาการตามที่กล่าวข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและตรวจหาโรคไข้เลือดออก
- ไม่ควรรับประทานยาไอบูโพรเฟน หรือแอสไพริน เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ เนื่องจากยาเหล่านี้จะทำให้เลือดออกผิดปกติได้ง่ายขึ้น ควรรับทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการ
- ในระยะแรก ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง มีไข้ ปวดเมื่อยตัว เบื่ออาหาร เบื้องต้นสามารถรับประทานยาพาราเซตามอล เพื่อลดไข้ เช็ดตัว ดื่มน้ำมากๆ และพักผ่อนให้มากๆ รับประทานอาหารอ่อนๆ
- ในระยะวิกฤต เมื่อมีอาการเลือดออกตามใต้ผิวหนัง หรือมีเลือดออกตามที่ต่างๆ มีไข้สูง มีอาการอาเจียนไม่หยุด มือเท้าเย็นช้า ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
- ในระยะฟื้นตัว เมื่อผู้ป่วยไม่มีไข้แล้ว 24 ชั่วโมงโดยไม่ได้รับยาลดไข้ มีอาการดีขึ้น อยากรับประทานอาหาร ความเข้มของเลือดคงที่ ไม่มีอาการแน่นท้องและหน้าอก แพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้